อยากสุข ต้องฝึก

ดร.ริชาร์ด เดวิดสัน ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญ (ที่ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์) คนแรกที่ UN เชิญให้เข้าร่วมการวิจัย “The World Happiness Report” ในปี 2015

ตั้งแต่เรียนจบใหม่ๆสี่สิบกว่าปีก่อน เขาได้เดินทางมาแถบเอเซียและเรียนรู้การนั่งสมาธิ เขาพบว่ามันให้ผลดีมาก แต่ต้องแอบฝึกไม่บอกใคร เพราะเพื่อนในแวดวงนักวิทยาศาสตร์ยังไม่ยอมรับ!

จนในปี 1992 ที่อาจารย์ได้พบกับท่านดาไลลามะเป็นครั้งแรก
ท่านดาไลลามะถามว่า ทำไมอาจารย์ไม่เอาเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ซึ่งอาจารย์เชี่ยวชาญ มาศึกษาสิ่งนี้เล่า?!

ตั้งแต่นั้นมา ดร. เดวิดสันได้ศึกษาเรื่องสมาธิ ความสุของค์รวม ความเมตตา ฯลฯ โดยใช้วิทยาศาสตร์สมองมาพิสูจน์กันชัดๆ

แล้วเขาก็สามารถพิสูจน์อย่างสิ้นสงสัยได้ว่าการนั่งสมาธิ มีผลต่อส่วนของสมองที่ตอบสนองต่อภาวะความสุขจริงๆ

เขาได้ค้นพบ 4 ปัจจัย ที่เมื่อเราทำได้มากขึ้น

เราจะมีชีวิตที่เปี่ยมสุขทั้งกายใจ

ซึ่งมีหลักฐานทางสมองยืนยันชัดเจน นั่นคือ

  1. Resilience (ทุกข์แล้วฟื้นเร็ว ล้มแล้วลุกเร็ว)
  2. Positive Outlook (มองโลกในแง่บวก)
  3. Attention (มีสติและสมาธิอยู่กับสิ่งตรงหน้า)
  4. Generosity (มีใจกว้าง เอื้อเฟื้อ)

ที่สำคัญ เขายืนยันว่า พวกเราทุกคนฝึกได้ สมองของเราเปลี่ยนแปลงได้ตลอดแม้อายุมาก ไม่มีใครแก่เกินฝึก

คนที่สุขง่าย สุขมาก ไม่ใช่เพราะมีอะไรมากกว่าคนอื่น แต่เพราะสภาพใจเขาฝึกมาดีกว่า

อยากมีความสุข อย่านั่งรอค่ะ มาเรียนรู้ที่จะฝึกสมองและใจเรา

จากไอเดียระดับโลก สู่การลงมือทำระดับเรา

ในบรรดา 4 ปัจจัยนี้ สมองของเปลี่ยนได้ยากง่ายต่างกัน

สิ่งง่ายๆ ที่ทุกคนฝึกได้ คือ “การให้” ในทุกวัน

ให้เวลา ให้การรับฟัง ให้รอยยิ้ม

ให้ความเห็นอกเห็นใจ ให้ความเอาใจใส่

ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ ให้ข้อมูล….

เหล่านี้ ล้วนแต่เป็นการให้ที่ไม่ต้องใช้สตางค์เลย

สิ่งสำคัญคือ ก่อน-ระหว่าง-หลัง การให้ขอให้สอนใจเราให้ “ปรารถนาดี” ต่อเพื่อนมนุษย์ เพราะนั่นคือวิธี “เปิดสวิตช์” วงจรสมองความสุขใจเราจะรู้สึกเชื่อมโยงกันเชื่อมโยงกับสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเรา รู้สึกอบอุ่น มั่นคง เมื่อจิตใจดี ส่งผลต่อสุขภาพกายด้วยค่ะ

ขอให้เพื่อนๆ มีความสุขในทุกวันทำงานในสัปดาห์นี้ค่ะ

แบ่งปันเนื้อหานี้:

Facebook
Twitter
LinkedIn
อ.เอ้ อิศรา สมิตะพินทุ
อ.เอ้ อิศรา สมิตะพินทุ

ผู้ก่อตั้งบริษัท อินสปายรา จำกัด และสร้างสรรค์หลักสูตรอบรมและหลักสูตรการโค้ชเพื่อดึงศักยภาพของบุคลากรโดยใช้หลักการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ (Action Learning)

หัวข้อในบทความนี้

บทความอื่น ๆ

ดูบทความทั้งหมด